วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

CPU Socket




CPU Socket

ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

AGP Slot ( Accelerator Graphic Port )




AGP Slot (Accelerator Graphic Port)

เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพี หรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่ จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X 8X และล่าสุด 16X และ Express Card ซึ่งเร็วกว่า AGP Slot มาก ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

USB Flash Memory Drive



USB Flash Memory Drive อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกเรียกกันหลากหลายชื่ออย่างเช่น Thumb Drive บ้าง Flash Dirve บ้างได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กแต่การเก็บข้อมูลมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน และเจ้าตัว USB Flash Memory Drive ก็ได้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องในเรื่องของความจุ จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นก็จะรู้เพียงว่า USB Flash Memory Drive นั้นมีไว้เก็บ File ข้อมูล ในบทความนี้จะนำเสนอในเรื่อง Technology และการทำงานของ USB Flash Memory Drive


USB Flash Memory Drive แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ

(1)ส่วนเก็บข้อมูล (Memory) เป็นส่วนที่เรียกว่า Flahs Memory Chip เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลทั้งหมด โดยการเก็บข้อมูลนั้นไม่ จำเป็นต้องใช้ไฟเข้าไปเลี้ยงตลอดเวลา
(2)ส่วนควบคุมการทำงาน ( Controller) เป็นส่วนที่รวม CPU, เฟิร์มแวร์และ controller มาอยู่ใน Chip ตัวนี้เพียงตัวเดียว ทำให้เมื่อต่อพ่วงกับ Port ที่เป็น USB สามารถเห็นได้คล้ายกับ Removable Storage ทั่วไป ซึ่งใช้สำหรับ Windows ME/XP/2000 ส่วน Linux เมื่อทำการ mont จะเห็นเหมือน Drive 1 drive
(3)ส่วนควบคุมความถี่ (X-tal) ทำหน้าที่ควบคุมความถี่ 12 MHz ซึ่งเป็นความถี่เดียวกันกับที่ใช้ใน Mainboard โดยกลไก Timing นี้เอาไว้ดูแลและควบคุมข้อมูลเข้าออกจาก Cell memory
(4)ส่วนเชื่อมต่อ (Connector) เป็นส่วนที่ต่อเข้ากับ USB Post ของเครื่อง PC หรือ Notebook

การทำงานของ Flash Memory
หลักในการทำงานของ Flash Memory เริ่มจากเซล Memory จะถูกจัดเรียงแบบ Grid โดยเซลแต่ละเซลในชิฟ Flash Memory จะเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนกับห้องขังที่มีประตูกั้นกระแสไฟฟ้าเอาไว้เป็นกลุ่มของ Electron เช่น ถ้าใน 1 Cell สามารถบรรจุ Electron ได้ถึง 13 ตัว เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเข้าไป Electron จะถูกปล่อยออกมาโดยแต่ละ Cell จะถูกไฟฟ้ากระตุ้นไม่เท่ากัน ซึ่งการกระตุ้นจะเกิดจากการแปลงค่าข้อมูลที่เข้ามาเป็นค่าตัวเลขที่เป็นเลขฐาน 2 ตัว Controller จะมีการกำหนดว่า Electron ที่อยู่ภายในแต่ละ Cell ควรมีค่าเป็นเท่าใด เช่น ถ้ามีค่า Electron น้อยกว่าหรือเท่ากับที่กำหนดไว้ให้มีค่าของ Cell นั้นเป็น 1 นอกนั้นให้เป็น 0 เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

MODEMS


*//โมเด็ม (Modems)//*
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกเพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวแยกสัญญาณแอนะล็อก (analog) และดิจิทัล (digital) โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ ของคุณ เข้ากับคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่ง ซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณระหว่าง สัญญาณคอมพิวเตอร์ กับ สัญญาณโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ กับ บุคคล ต่างๆได้

*//การเลือกซื้อโมเด็ม//*
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
- สามารถเข้ากันได้ กับ ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
- สามารถเข้ากันได้ กับ ระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
- ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
- เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
- การบีบอัดข้อมูล
- ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด รับ - ส่งโทรสารได้
- ซอฟท์แวร์สื่อสาร

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

RAM

RAM



แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

ประเภทของแรมรุ่นต่าง ๆ

SRAM (Static RAM)

เป็นหน่วยความจำที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าดีแรม เนื่องจากไม่ต้องมีการรีเฟรชอยู่ตลอดเวลา แต่หน่วยความจำชนิดนี้มีราคาแพงและจุข้อมูลได้ไม่มาก

DDR SDRAM ( Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM )

ดีดีอาร์ เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM)เป็นแรมที่พัฒนามาจากเอสดีแรม นิยมเรียกอีกอย่างว่า ดีอาร์ดีแรม (DRDRAM) สามารถทำงานได้เร็วกว่าเอสดีแรมธรรมดา 2 เท่า

RDRAM ( Rambus Dynamic RAM )

อาร์ดีแรม (Rambus Dynamic RAM : RDRAM) เป็นแรมที่ได้รับการออกแบบระบบใหม่ ให้แตกต่างจากแรมชนิดอื่นที่ได้กล่าวมาข้างต้น พัฒนาโดยบริษัทแรมบัส (Rambus Inc.) ส่งข้อมูลผ่านทางบัสที่มีความเร็วสูง เป็นแรมประเภทที่มี ราคาแพง และ การใช้งานซับซ้อน จึงไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเอสดีแรม และดีดีอาร์เอสดีแรม

NV-RAM (Non-volatile RAM)

nonvolatile RAM (NVRAM) เป็นรูปแบบของ static RAM ที่เพื่อได้รับการบันทึกเมื่อคอมพิวเตอร์ปิด หรือไม่มีแหล่งพลังงานภายนอก NVRAM สามารถทดลองโดยให้ static RAM ต่อกับแบตเตอรี่สำรอง หรือโดยการบันทึกเนื้อหา และดึงจาก electrically erasable programmable ROM โมเด็มบางแบบใช้ NVRAM เป็นที่เก็บค่าตั้งต้น หรือ หมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้ใช้เจาะจง และรายละเอียดของโมเด็ม

FPM DRAM ( Fast Page Mode Dynamic RAM )

เอฟพีเอ็มดีแรม (Fast Page Mode Dynamic RAM : FPM DRAM) เป็นแรมที่พัฒนาหลังจากไดนามิกแรมธรรมดาในยุคแรกๆ
เอฟพีเอ็มดีแรมเป็นแรมชนิดที่เก่าที่สุดที่ยังคงมีขายอยู่ ในตลาดคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันยังคงมีการผลิตมาจำหน่ายแต่น้อยมาก ทำให้เป็นแรมชนิดที่มีราคาแพง

SDRAM (Synchronous DRAM)

ตัวชืปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บน แผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC-66 (66 MHz), PC-100 (100 MHz), PC-133 (133 MHz) และ PC-150 (150MHz) ปัจจุบันหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

EDO RAM ( Extended Data Output RAM )

อีดีโอแรม (Extended Data Output RAM : EDO RAM) เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นหลังจากเอฟพีเอ็มดีแรม พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2538
โดยบริษัทไมครอนในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมเอ็มเอ็มเอ็กซ์ เพนเทียมโปร ซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน


DRAM (Dynamic RAM)

เป็นหน่วยความจำที่มีใช้งานอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุสูง หน่วยความจำชนิดนี้เก็บข้อมูลเลขฐานสองแต่ละบิตไว้ที่ตัวเก็บประจุ ซึ่งจะมีการคายประจุทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้หายไปได้ จึงต้องออกแบบให้มีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าหรือที่เรียกว่ารีเฟรช (refresh) ให้ตัวเก็บประจุตลอดเวลา เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บภายในยังคงอยู่ตลอดการใช้งาน ซึ่งการรีเฟรชดังกล่าวมีผลให้หน่วยความจำชนิดนี้อ่านและเขียนข้อมูลได้ช้า

ในการเข้าถึงข้อมูลของไดนามิกแรมจะแบ่งเวลาในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงจัดเตรียม (setup time) คือเวลาที่ใช้ในการเตรียมพื้นที่ในแรมให้พร้อมในการรับหรือส่งข้อมูล ภายในแรมแบ่งเป็นตารางที่สามารถระบุเป็นแถว (row) และสดมภ์ (column) แต่ละช่องคือพื้นที่ใช้เก็บข้อมูลแบ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ (address) การจะอ่านหรือเขียนข้อมูล ซีพียูต้องส่งสัญญาณที่ระบุตำแหน่งดังกล่าวไป เพื่อเตรียมการรับหรือส่งข้อมูลของพื้นที่ที่ระบุ สำหรับส่วนที่สองเรียกว่า ช่วงวงรอบการทำงาน (cycle time) คือ เวลาที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ที่ระบุส่งกลับมายังซีพียู การอ่านข้อมูลของดีแรมในยุคแรกๆ อ่านข้อมูลทีละ 4 ไบต์ โดยต้องส่งสัญญาณระบุตำแหน่งที่อยู่เป็นแถวและสดมภ์ของแต่ละไบต์ไปยังแรม

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สเปคคอมพิวเตอร์ในงบประมาณไม่เกิน10000บาท

CPU

รุ่น Intel Celeron E3300 Wolfdale 2.5GHz 1MB L2 Cache LGA 775 65W Dual-Core Processor # BX80571E3300 - ประกัน dcom ModelBrandIntelSeriesCeleron...ราคา 1,780 บ.

MainBoard

รุ่น MSI MainBoard G41TM-P33 LGA775 Support Intel Core2 Quad FSB 800 /1066 /1333 Intel® G41+ICH7 Socket775CPU (Max Support) Core 2 QuadAM3 CPU...ราคา 1,790 บ.

Harddisk

รุ่น Seagate ST9500325AS_N3 Harddisk 2.5" Notebook 500GB, SATA, 5400RPM, 8MB, 3YRS Seagate Momentus 5400.6 SATA 3Gb/s 500-GB Hard Drive The 500-GB...ราคา 2,950 บ.

case

รุ่น ATX CASE 1808 ราคา 1030 บ.

VGA

รุ่น PCI Express NVIDIA Chipset//GIGABYTE GV-N210TC-512I Nvidia Geforce 210 590MHZ,
1600MHZ, DDR3, D-SUB, DVI...ราคา 1,420 บ.

RAM

รุ่น DDRII-800 KINGMAX 2 GB... ราคา 1350 บ.

รวมเงินทั้งหมด 9820 บ.

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แผนการยุทธศาสตร์ ด้านสถานศึกษา นโยบาย 3D




คำว่า "ดี" ภาษาไทย ก็ คือ
1. เราต้องการให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย
2. คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีผิดชอบ ชั่วดี เด็กที่จบออกมา ถ้ารู้ผิดชอบ ชั่วดี มีหิริโอตตัปปะ ผมคิดว่าครบถ้วนทุกอย่าง จะรู้อะไรควรทำไม่ควรทำ ทุจริตเป็นอย่างไร
3. ต้องห่างไกลยาเสพติด อันนี้ คือ โครงการสามดี ภาษาไทย

ส่วน D ภาษาอังกฤษ คือ
1. Democracy คือ ประชาธิปไตย
2. Decency คือ คุณธรรม จริยธรรม รู้ผิดชอบ ชั่วดี
3. Drug คือ ยาเสพติด

ผลการดำเนินงาน ตามนโยบาย “สถานศึกษา 3D”

สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 8 ได้ดำเนินการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3 D เพื่อประเมินการจัดการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ กระบวน การคิดวิเคราะห์ การบ่มเพาะ กล่อมเกลา ปลูกฝังและปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมจัดการศึกษา มีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม ใน 3 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย (DEMOCRACY) ด้านการส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย (DECENCY) และด้านการสร้างภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติดทุกชนิด (DRUG – FREE) สรุปผลการดำเนินงานฯ ดังนี้


1. ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย (DEMOCRACY)
ผลการดำเนินงาน สถานศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 14 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ดังนี้
1) กิจกรรมสภานักเรียน
2) การเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน
3) สอนสอดแทรกในทุกรายวิชา
4) การสอบถามความคิดเห็นจากชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาในการบริหารโรงเรียน
5) โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามระบอบประชาธิปไตย โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6) ปลูกฝังจริยธรรมของระบอบประชาธิปไตยอันบริสุทธิ์
7) จัดอบรมโครงการเพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง รอบรั้วโรงเรียน
8) โครงการต้นกล้าประชาธิปไตย
9) กิจกรรมเยาวชนจิตอาสา
10) รณรงค์การใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกประเภท


2. ด้านการส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย (DECENCY)
ผลการดำเนินงาน สถานศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 14 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ดังนี้
1) การแต่งกายพื้นเมืองทุกวันศุกร์
2) ค่ายคุณธรรม จริยธรรม
3) การเคารพ น้องไหว้พี่
4) โครงการเข้าวัดกับชุมชนเดือนละครั้ง
5) โครงการประกวดมารยาทไทย
6) โครงการวันสำคัญทางศาสนา
7) โครงการพัฒนาคุณธรรมวิถีพุทธ
8) โครงการประกวดมารยาทไทย
9) โครงการไหว้สวยทั้งโรงเรียน
10) กิจกรรมสาธารณประโยชน์ในชุมชน


3. ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติดทุกชนิด (DRUG – FREE)
ผลการดำเนินงาน สถานศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 14 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ดังนี้
1) โครงการศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล
2) สอนสอดแทรกในทุกรายวิชา
3) โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
4) อบรมแกนนำต่อต้านยาเสพติด
5) โครงการพลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติดและเอดส์
6) โครงการกีฬาต้านยาเสพติด
7) โครงการคลีนิคปลอดบุหรี่
8) โครงการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
9) โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน
10) โครงการพ่อแม่เลี้ยงบวก